ยินดีต้อนรับ สู่ Blogger พรรคการเมือง เพื่อที่จะให้เข้าใจถึงการจัดตั้งพรรคการเมือง จุดประสงค์ในการจัดตั้ง และรายชื่อพรรคการเมืองในปัจจุบัน รวมทั้งกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆในพรรคการเมือง
วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554
พรรคการเมืองกับการรณรงค์ทางการเมือง
ในอดีตการรณรงค์ทางการเมืองเพื่อการหาเสียงเลือกตั้งในประเทศไทยไม่ว่าจะ กระทำโดยผู้สมัครรับเลือกตั้งหรือพรรคการเมืองยังมีการนำระบบอุปถัมภ์ ผลประโยชน์แลกเปลี่ยน และปัจจัยทางสังคม หรือภูมิหลังของบุคลเป็นหลัก โดยมิได้เห็นความสำคัญหรือมีความเชื่อในสำนึกเหตุผล ทำให้การรณรงค์ทางการเมืองโดยเฉพาะช่วงการเลือกตั้งเป็นการแข่งขันในลักษณะ ของการให้ผลประโยชน์ในรูปของเงินทอง และสิ่งของแก่ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง โดยผ่านระบบอุปถัมภ์ หรือผู้นำในชุมชนต่าง ๆ รวมทั้งมีการโจมตีให้ร้ายแก่ผู้สมัครหรือพรรคการเมืองคู่แข่งด้วยวิธีการ ต่าง ๆ
อ้างอิง http://thaipoliticsgovernment.org/wiki/
แต่อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากการปฏิรูปการเมือง โดยวางกฎกติกาทางการเมืองใหม่ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และมีพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 ซึ่งได้มีการเปลี่ยนแปลงระบบการเลือกตั้ง อันมีทั้งการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ และการเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง รวมทั้งยังมีคณะกรรมการเลือกตั้ง อันเป็นองค์กรอิสระ เข้ามาทำหน้าที่ควบคุมและจัดการเลือกตั้ง ทำให้พรรคการเมืองต้องปรับกลยุทธ์ในการณรงค์หาเสียงและสร้างจุดขายเพื่อหา คะแนนนิยมให้ตนเองมากกว่าแต่ก่อน จึงได้เกิดมิติใหม่ในการณรงค์หาเสียงเลือกตั้งของพรรคการเมือง โดยพรรคการเมืองมีการนำเสนอนโยบายสาธาณะของพรรคการเมืองผ่านสื่อต่าง ๆ อย่างกว้างขวางมากขึ้น มีการใช้ริเริ่มที่จะนำรูปแบบการณรงค์ทางการเมืองเพื่อการหาเสียงเลือกตั้ง แบบใหม่ของต่างประเทศมาใช้ ด้วยวิธีการทำการตลาดทางการเมือง (Political Marketing) และคงเป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า พรรคไทยรักไทยเป็นพรรคการเมืองแรกที่ประสบความสำเร็จในการรณรงค์หาเสียง เพื่อการเลือกตั้งภายหลังการประกาศใช้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2540
ดังที่ นันทนา นันทวโรภาส ได้กล่าวสรุปไว้ในงานวิจัยเรื่อง “ชนะเลือกตั้งด้วยพลังการตลาด” ว่าพรรคไทยรักไทย ได้นำกรอบแนวคิดการตลาดทางการเมืองทุกชนิดมาใช้ได้อย่างเหมาะสมสอดคล้องกับ สภาพสังคมการเมืองไทยทั้งการแบ่งส่วนตลาดผู้เลือกตั้ง (Voter segmentation) ที่สามารถจำแนกได้ละเอียดชัดเจนและเข้าถึงได้ทุกกลุ่ม การจัดวางตำแหน่งของพรรคและหัวหน้าพรรค (Product positioning) เป็นตำแหน่งที่แตกต่างและสร้างประโยชน์แก่พรรค ขณะเดียวกันพรรคก็ใช้ส่วนผสมของการตลาด 4Ps อย่างมีประสิทธิภาพโดยการใช้การวิจัย (Polling) เป็นตัวนำในการออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product) คือ นโยบายที่ตอบสนองความพอใจของผู้เลือกตั้ง และใช้ทั้งการตลาดแบบผลักดัน (Push marketing) ผ่านกิจกรรมต่าง และการตลาดแบบดึงดูด (Pull marketing) ผ่านทางสื่อมวลชนอย่างกว้างขวาง โดยมีกลไกของรัฐเป็นตัวสนับสุนโดยไม่มีข้อจำกัด ซึ่งเมื่อพิจารณาผลการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2548 ที่พรคไทยรักไทยได้รับเลือกตั้งสูงถึง 377 ที่นั่งย่อมเป็นเครื่องยืนยันความสำเร็จของการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งภายใต้ กรอบการตลาดเป็นอย่างดี หรือตามที่ สุรนันทน์ เวชชาชีวะ ได้กล่าวถึง ลักษณะของโปสเตอร์ แผ่นพับ ใบปลิวว่า “สำหรับสื่อสิ่งพิมพ์ส่วนใหญ่แล้วเราจะชูท่านหัวหน้าพรรคเป็นหลัก ในระยะแรกพรรคก็เหมือนกับหัวหน้าพรรค เราจึงเน้นที่รูปของท่าน และเนื้อหาคำกล่าวของท่าน...มีคำกล่าวสั้น ๆ ที่หัวหน้าพรรคต้องการสื่อสาร ซึ่งเป็นข้อความสั้น ๆ และสามารถเข้าใจง่าย กินใจหรือโดนใจที่สุด อันเป็นกลยุทธ์เดียวกับการรณรงค์ทางการเมืองด้านสารและวาทะทางการเมืองของ สหรัฐอเมริกา
ความสำเร็จในการนำการตลาดทางการเมืองมาใช้ในการรณรงค์ทางการเมืองเพื่อหา เสียงเลือกตั้งของไทยรักไทยนั้น ส่งผลให้พรรคอื่น ๆ จำต้องปรับกลยุทธ์ในการรณรงค์ทางการเมืองให้ทันต่อกระแสความต้องการของผู้มี สิทธิเลือกตั้งชาวไทย ไม่ว่าจะเป็นพรรคประชาธิปัตย์ด้วยการ RE-BRANDING พรรคประชาธิปัตย์ หรือการปรับใช้เทคนิคการ BRANDING นักการเมือง ของพรรคชาติไทย เป็นต้น แนวโน้มในการรณรงค์ทางการเมืองเพื่อหาเสียงเลือกตั้งของพรรคการเมืองไทย
(1) พรรคการเมืองมีแนวโน้มในการรณรงค์หาเสียง โดยเน้นการประกาศนโยบายสาธารณะแบบประชานิยม ดังเช่นที่ นิยม รัฐอมฤต ได้กล่าวว่า “...ทิศทางของพรรคการเมืองไทยในการเลือกตั้งครั้งหน้า จะยังไม่มีอะไรมากไปกว่าการแข่งขัน เพื่อให้ตนเองได้มี ส.ส.มากที่สุด และยุทธวิธีที่หนีไม่พ้นก็คือการใช้เงิน และระบบอุปถัมภ์ และที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ การแข่งขันประกาศนโยบายประชานิยม โดยมุ่งหวังที่จะสร้างคะแนนนิยมจากประชาชน”
(2) ประชาชนที่มีความใกล้ชิดกับข้อมูลข่าวสารจะให้ความสำคัญกับนโยบายของพรรคการเมืองมากขึ้น
(3) สื่อมวลชน ทั้งโทรทัศน์ วิทยุ สื่อสิ่งพิมพ์ และอื่น ๆ จะเข้ามามีบทบาทในการรณรงค์ทางการเมืองเพื่อการหาเสียงเลือกตั้งของพรรคการ เมืองมากขึ้น
(4) เงินยังคงเป็นปัจจัยที่สำคัญในการรณรงค์ทางการเมืองเพื่อการหาเสียงเลือก ตั้ง แต่อาจมิใช่ปัจจัยชี้ขาดถึงผลสำเร็จของการเลือกตั้ง เพราะหากใช้จ่ายเงินในทางที่ผิดไม่เป็นไปตามกฎหมายอาจจะถูกเพิกถอนสิทธิ เลือกตั้งได้ (ส่วนที่ 6 ค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งและวิธีการหาเสียงเลือกตั้ง มาตรา 49-60)
(5) จะมีการใช้ข้อมูลสารสนเทศสำหรับวางแผนและดำเนินการในการรณรงค์ทางการเมือง เพื่อหาเสียงเลือกตั้งมากขึ้น เช่น มีการทำแบบสำรวจโพลล์ เพื่อค้นหาความต้องการของประชาชนมากำหนดเป็นนโยบายของพรรคการเมืองเพื่อใช้ ในการหาเสียงมากขึ้น รวมทั้งมีการสำรวจความนิยมของพรรคการเมือง ผู้สมัครรับเลือกตั้งอย่างสม่ำเสมอ เพื่อนำข้อมูลมาปรับกลยุทธ์ในการรณรงค์ทางการเมืองเพื่อหาเสียงเลือกตั้งให้ มีประสิทธิภาพตรงใจกับผู้มีสิทธิเลือกตั้ง มีการปรับวาทะทางการเมืองให้สั้น กระชับ เพื่อดึงดูดใจ และให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งประทับใจในช่วงเวลาอันรวดเร็วและตรงจุดความต้อง การ
(6) พรรคการเมืองและผู้สมัครรับเลือกตั้งจะรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งควบคู่ไปกับ การจับจ้องพฤติการณ์การหาเสียงเลือกตั้งของคู่แข่งมากยิ่งขึ้น เพื่อหวังผลในการร้องเรียน ร้องคัดค้านอันจะนำมาสู่การไม่ประกาศผลการเลือกตั้งจาก ก.ก.ต. (กรณีที่ตนเองแพ้การเลือกตั้ง) และเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งแก่ผู้สมัครรับเลือกตั้งฝ่ายตรงข้าม (มาตรา 114)
กลุ่มผลประโยชน์กับปัญหาพรรคการเมือง
ฤดูการซื้อขายตัวนักการเมืองเลือกตั้ง เกิดขึ้นเป็นประจำเหมือนกับฤดูกาลการซื้อขายตัวนักเตะฟุตบอลฝีเท้าเยี่ยม ราคาสูง ต่ำ ขึ้นอยู่กับฐานเสียงที่มักแอบอิงอยู่กับผลคะแนนการเลือกตั้งครั้งที่แล้ว ซึ่งมีลักษณะผันแปรเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ทางการเมือง เช่น บางฤดูกาลการเลือกตั้งนักการเมืองอยู่ในพรรครัฐบาล เป็นที่ชื่นชอบของชาวบ้าน อยู่ในอันดับเต็งหนึ่งค่าตัวก็มีราคาสูง
บางฤดูกาลไม่ว่าอยู่ในพรรครัฐบาลหรือพรรคฝ่ายค้าน ผลงานไม่เป็นที่ชื่นชมของชาวบ้าน มีคู่แข่งที่สูสีและชาวบ้านเบื่อหน่ายอยากเปลี่ยนตัวใหม่บ้าง ราคาค่าตัวก็ต่ำลงหรืออาจไม่มีราคาเลยก็ได้
ระบบการเลือกตั้ง เป็นระบบที่พรรคการเมืองคัดตัวบุคคลลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎร (ส.ส.) คนที่สนใจทางการเมืองต้องอยู่ในแวดวงศ์ญาติ/เผ่าพันธุ์เดิมของนักการเมือง เก่า หรือไม่ก็ต้องเข้าไปแวดล้อมอาสาเป็นลูกน้องหัวหน้าก๊ก/แก๊ง เพื่อให้อุปถัมภ์ค้ำชูช่วยเหลือเงินทองและชื่อเสียงอุ้มเข้าไปเป็น ส.ส.
การเกิดใหม่ของนักการเมืองคุณภาพ ไม่ว่าจะเป็นนักวิชาการ นักกิจกรรมทางสังคม นักพัฒนาองค์กรพัฒนาเอกชน ผู้พิพากษา ทนายความ แพทย์ ผู้นำชุมชน ฯลฯ มีโอกาสเกิดขึ้นได้ประมาณร้อยละ 30 แต่ต้องอาศัยเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองสำคัญๆ ดังเช่น การเลือกตั้งภายหลังเหตุการณ์พฤษภาคมทมิฬ 2535 ที่เป็นโอกาสของฝ่ายก้าวหน้าแต่ก็ไม่สามารถทะลุทะลวงระบบการเมืองแบบเดิมที่ มีนักการเมืองนายทุน/ลูกน้องนายทุนและนักเลือกตั้งอาชีพได้
ส่วนการเปลี่ยนแปลงในระบบการเลือกตั้งปกติ คนที่เป็น ส.ส.ใหม่ก็คือคนเก่าที่เคยต่อสู้ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนอยู่ในอันดับที่ 2, 3, 4, 5 นักการเมืองไทยจึงเป็นนักเลือกตั้งที่ทำหน้าที่ยกมือให้กับรัฐบาลมากกว่า เป็นผู้แทนราษฎรที่ทำงานทางด้านนิติบัญญัติ ด้วยการพิจารณากฎหมาย ออกกฎหมายเพื่อประชาชน ตรวจสอบการบริหารจัดการของรัฐบาลและหน่วยงานราชการ
สิ่งที่นักการเมืองเก่าส่วนใหญ่เคยทำและทำอยู่ในปัจจุบันอย่างต่อเนื่อง ก็คือ การจัดตั้งหัวคะแนนในพื้นที่ทุกหมู่บ้าน/ชุมชน กลุ่ม/องค์กรชุมชนต่างๆ โดยใช้ระบบอุปถัมภ์ช่วยเหลือเกื้อกูลเงินทอง แก้ไขปัญหาความทุกข์ยากเดือดร้อนให้ทั้งครอบครัวและญาติ การบริจาคเงินทอง สิ่งของ วัตถุ เต๊นท์ น้ำดื่ม ไม่ว่างานศพ เจ็บป่วยไปโรงพยาบาล งานวันเกิด งานแต่งงาน งานทำบุญบ้าน ฯลฯ
อ้างอิง http://news.sanook.com/scoop/scoop_183602.php
บางฤดูกาลไม่ว่าอยู่ในพรรครัฐบาลหรือพรรคฝ่ายค้าน ผลงานไม่เป็นที่ชื่นชมของชาวบ้าน มีคู่แข่งที่สูสีและชาวบ้านเบื่อหน่ายอยากเปลี่ยนตัวใหม่บ้าง ราคาค่าตัวก็ต่ำลงหรืออาจไม่มีราคาเลยก็ได้
ระบบการเลือกตั้ง เป็นระบบที่พรรคการเมืองคัดตัวบุคคลลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎร (ส.ส.) คนที่สนใจทางการเมืองต้องอยู่ในแวดวงศ์ญาติ/เผ่าพันธุ์เดิมของนักการเมือง เก่า หรือไม่ก็ต้องเข้าไปแวดล้อมอาสาเป็นลูกน้องหัวหน้าก๊ก/แก๊ง เพื่อให้อุปถัมภ์ค้ำชูช่วยเหลือเงินทองและชื่อเสียงอุ้มเข้าไปเป็น ส.ส.
การเกิดใหม่ของนักการเมืองคุณภาพ ไม่ว่าจะเป็นนักวิชาการ นักกิจกรรมทางสังคม นักพัฒนาองค์กรพัฒนาเอกชน ผู้พิพากษา ทนายความ แพทย์ ผู้นำชุมชน ฯลฯ มีโอกาสเกิดขึ้นได้ประมาณร้อยละ 30 แต่ต้องอาศัยเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองสำคัญๆ ดังเช่น การเลือกตั้งภายหลังเหตุการณ์พฤษภาคมทมิฬ 2535 ที่เป็นโอกาสของฝ่ายก้าวหน้าแต่ก็ไม่สามารถทะลุทะลวงระบบการเมืองแบบเดิมที่ มีนักการเมืองนายทุน/ลูกน้องนายทุนและนักเลือกตั้งอาชีพได้
ส่วนการเปลี่ยนแปลงในระบบการเลือกตั้งปกติ คนที่เป็น ส.ส.ใหม่ก็คือคนเก่าที่เคยต่อสู้ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนอยู่ในอันดับที่ 2, 3, 4, 5 นักการเมืองไทยจึงเป็นนักเลือกตั้งที่ทำหน้าที่ยกมือให้กับรัฐบาลมากกว่า เป็นผู้แทนราษฎรที่ทำงานทางด้านนิติบัญญัติ ด้วยการพิจารณากฎหมาย ออกกฎหมายเพื่อประชาชน ตรวจสอบการบริหารจัดการของรัฐบาลและหน่วยงานราชการ
สิ่งที่นักการเมืองเก่าส่วนใหญ่เคยทำและทำอยู่ในปัจจุบันอย่างต่อเนื่อง ก็คือ การจัดตั้งหัวคะแนนในพื้นที่ทุกหมู่บ้าน/ชุมชน กลุ่ม/องค์กรชุมชนต่างๆ โดยใช้ระบบอุปถัมภ์ช่วยเหลือเกื้อกูลเงินทอง แก้ไขปัญหาความทุกข์ยากเดือดร้อนให้ทั้งครอบครัวและญาติ การบริจาคเงินทอง สิ่งของ วัตถุ เต๊นท์ น้ำดื่ม ไม่ว่างานศพ เจ็บป่วยไปโรงพยาบาล งานวันเกิด งานแต่งงาน งานทำบุญบ้าน ฯลฯ
อ้างอิง http://news.sanook.com/scoop/scoop_183602.php
วันอาทิตย์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2554
วันเสาร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2554
พรรคไทยพอเพียง
จัด อบรมปรัญชา "เศรษฐกิจพอเพียง" ทั่วประเทศ เพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวันครบ 5 ครั้งได้ค่าตอบแทนคนละ 10,000 บาท อบรมแล้วให้กู้ประกอบอาชีพและใช้หนี้นอกระบบ รายละไม่เกิน 200,000 บาท โดยไม่ต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกันและไม่มีดอกเบี้ย ออกกฎหมายห้ามยึดบ้าน ที่ดินทำกิน และยึดรถที่ใช้ประกอบอาชีพ และจัดที่ทำกินให้ครอบครัวละ 10 ไร่ เพื่อทำเกษตรทฤษฎีใหม่ ปลดหนี้ในและนอกระบบโดยการซื้อหนี้ พักชำระหนี้และประนอมหนี้ อายุ 60 ปียกหนี้ให้ทั้งหมด ผู้สูงอายุ คนพิการได้รับเบี้ยยังชีพคนละห้าพันบาทต่อเดือน รักษาฟรี! เรียนฟรี! จริงๆ
นโยบายพรรคกิจสังคม
พรรค กิจสังคมมีนโยบายที่จะแก้ไขปัญหาและพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน เพื่อประโยชน์ของประชาชนชาวไทยทุกกลุ่ม พรรคจะดำเนินนโยบายกองทุนหมู่บ้าน ส่งเสริมด้านเกษตรกรรมโดยใช้ชลประทานระบบท่อ ด้านเศรษฐกิจจะส่งเสริมให้เอกชนเป็นผู้นำ และพรรคจะพัฒนาเมืองหลวงโดยการกระจายความเจริญออกสู่เมืองบริวาร
พรรครักประเทศไทย
เมื่อ ทุกพรรคต้องการเป็นรัฐบาลเพื่อให้ได้เข้าไปบริหารประเทศ ได้สัมปทานประเทศไทย ผลประโยชน์มหาศาลนี้ต้องมีคนตรวจสอบ ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่น เกิดมาทุกยุค ทุกสมัย ทุกรัฐบาล พรรครักประเทศไทยขอเสนอตัวเป็นฝ่ายค้านเพื่อตรวจสอบการทำงาน ติดตามนโยบายต่างๆ ที่บรรดานักการเมืองให้คำมั่นสัญญาเมื่อได้เข้าไปบริหารประเทศ ประชาชนและประเทศชาติจะได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง
นโยบายพรรคเพื่อไทย
สาย ต่อนโยบายแก้ความยากจน ยาเสพติด ทุจริตคอร์รัปชั่น เดินหน้านโยบายใหม่ : ก้าวข้ามวิกฤตสู่สังคมสันติสุข : รับจำนำข้าวและออกบัตรเครดิตเกษตรกร : กองทุนตั้งตัวได้ คืนภาษีบ้านหลังแรก/รถคันแรก : พัฒนาโครงข่ายระบบราง : เพิ่มเงินเดือนปริญญาตรี/ค่าแรงขั้นต่ำ : ปรับปรุงคุณภาพการศึกษาไทย-คอมพิวเตอร์ฟรี-อินเตอร์เน็ตฟรีในที่สาธารณะ- เพิ่มกองทุน-1 อำเภอ 1 ทุน ต่างประเทศ : สร้างเมกะโปรเจ็คต์กระตุ้นเศรษฐกิจ-ป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพฯ/ภาคกลาง-พัฒนา ระบบน้ำทั้งประเทศ-สะพานเชื่อมเศรษฐกิจภาคใต้
นโยบายพรรคภูมิใจไทย
1.กอง ทุนประกันราคาสินค้าเกษตรข้าวเปลือกตันละ 20,000 บาท
2.กองทุนสวัสดิการผู้บำเพ็ญประโยชน์เพื่อสังคม
3.กองทุนจ้างงานแห่งชาติ 1 ล้านตำแหน่ง
4.กองทุนพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวผ่าน อปท. จังหวัดละ 100 ล้านบาทต่อปี
5.ถนนปลอดฝุ่นทั้งประเทศ
6.สร้างทางน้ำเข้าไร่ นา เกษตรกร
7.ศูนย์ฝึกนักกีฬาอาชีพ 4 ภาค
8.สร้างที่ทำกิน 1 ล้านคนนโยบายพรรคประชาธิปัตย
ครอบ ครัวต้องเดินหน้า เพิ่มรายได้และลดรายจ่ายด้วยการมอบเบี้ยยังชีพให้แก่ผู้สูงอายุทุกคน มีไฟฟ้าฟรีให้ผู้ที่ใช้น้อย ตรึงราคาน้ำมันดีเซลและก๊าซหุงต้ม เพิ่มเงินกู้ยืมดอกเบี้ยต่ำเพื่อการศึกษา และจัดการปัญหายาเสพติดอย่างเด็ดขาด เศรษฐกิจต้องเดินหน้ายกระดับความเป็นอยู่ด้วยการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ เพิ่มเงินกำไรในการประกันรายได้เกษตรกร ปรับโครงสร้างหนี้นอกระบบ ให้เกษตรกรมีที่ทำกิน และมีบำเหน็จบำนาญให้ประชาชนทุกคน ประเทศต้องเดินหน้า พัฒนาศักยภาพของประเทศด้วยการเร่งจัดหาพลังงานทดแทน สร้างเขตเศรษฐกิจเพื่อยกระดับสินค้า มีรถไฟความเร็วสูงเชื่อมโยงกรุงเทพฯและภูมิภาค และจัดหาแหล่งน้ำ
วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554
นโยบาย พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน
หันหน้าเข้าหากัน สร้างสรรค์ประเทศไทย รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย พลังไทยสร้างชาติ
1.สังคมมั่นคง ประชาชนมั่งคั่ง เศรษฐกิจยั่งยืน
2.สุขภาพดีทั่วไทย กีฬาสร้างชาติ ประชาชนมีคุณภาพ ขยายระบบสวัสดิการสังคม
3.เกษตรกรไทยต้องรวย ค่าแรงดีมีงานทำ สร้างเถ้าแก่เงินล้านเชื่อมสัมพันธ์การค้าไทยสู่ตลาดโลก
4.ทุกทิศทุกทางเดินทางทั่วถึง ตรึงราคาก๊าซ-น้ำมัน เพิ่มรายได้การท่องเที่ยว เพิ่มเงินอุดหนุนท้องถิ่น
ความหมายและประเภทของกลุ่มผลประโยชน์
ความหมายของกลุ่มผลประโยชน์
อัลมอนด์ (Almond) และ เพาเวลล์ (Powel) (อ้างใน พฤทธิสาณ ชุมพล . 2540 : 115) นิยามความหมายของ “กลุ่มผลประโยชน์” (Interest Group) ว่าเป็นกลุ่มคนที่เชื่อมโยงกันโดยมีความสนใจหรือห่วงใยในสิ่งหนึ่งสิ่งใด หรือมีผลประโยชน์ร่วมกันและโดยมีความสำนึกอยู่ไม่มากก็น้อยว่าเขามีความ เชื่อมโยงดังกล่าวกันอยู่
ประเภทของกลุ่มผลประโยชน์
1. กลุ่มผลประโยชน์และบุคคลที่เคว้งคว้างไร้บรรทัดฐาน (Anomic Interest Groups) เป็นกลุ่มที่ปะทุขึ้นอย่างค่อนข้างจะกะทันหันตามอารมณ์ เช่น การจลาจล การลอบสังหาร ตลอดจนการเดินขบวนประท้วง การเรียงร้องผลประโยชน์ในรูปลักษณ์นี้มักจะเกิดขึ้นในสภาพที่ไม่มีกลุ่มที่ ได้รับการจัดตั้งอยู่ในสังคม หรือว่าหากมีก็มีบางกลุ่มที่ถูกปิดกั้นมิให้แสดงออกซึ่งความต้องการ ดังนั้น ความไม่ พึงพอใจที่ถูกปิดอยู่กดดันไว้จะปะทุออกมาถ้ามีเหตุการณ์เอื้ออำนวยหรือมี ผู้ชักนำหรือ “ปลุกระดม” ให้เกิดขึ้น การชักนำนี้อาจกระทำโดยผู้ที่อยู่ในอำนาจทางการเมืองเพื่อผลประโยชน์ของเขา เองก็ได้ แต่ข้อสำคัญไม่มีการจัดตั้งเป็นองค์กรแต่อย่างใด ประเทศไทยมีเหตุการณ์ทางการเมืองที่ก่อให้เกิด Anomic Interest Groups คือ ในประเทศไทย ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยเป็นแกนนำในการเรียกร้อง รัฐธรรมนูญ ตลอดจนการท้าทายอำนาจกลุ่มผู้ปกครองที่เป็นนายทหาร แต่ ฝูงชนที่เข้าร่วมเดินขบวนประท้วงจนมืดฟ้ามัวดินในสัปดาห์นั้นอาจจัดเข้า อยู่ในลักษณะของ Anomic Interest Groups ได้
2. กลุ่มผลประโยชน์ที่ไม่มีการจัดตั้ง (Non-Associational Interest Groups) หมายถึงกลุ่มถึงเครือญาติ กลุ่มเชื้อชาติ กลุ่มภูมิภาค กลุ่มสถานภาพ กลุ่มชนชั้น (กล่าวคือกลุ่มคนที่อาจไม่ได้พบปะกันอย่างสม่ำเสมอ แต่มีความรู้สึกร่วมกัน มีความเชื่อมโยงกันทางจิตทางวัฒนธรรมอย่างรู้ใจกันพอสมควร ซึ่งอาจะเรียกร้องผลประโยชน์ของเขา เป็นครั้งคราว โดยผ่านบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือผู้นำเช่น ผู้นำทางศาสนา ตัวอย่างเช่น การที่เจ้าของที่ดินหลายคนขอร้องข้าราชการชั้น ผู้ใหญ่หรือรัฐมนตรีให้พิจารณาไม่ขึ้นภาษีที่ดิน โดยที่การขอร้องนี้เกิดขึ้นเมื่อเล่นกอล์ฟด้วยกัน จะเห็นได้ว่า กลุ่ม 2 ประเภท ดังกล่าวไปแล้ว มีการเรียกร้องผลประโยชน์แต่เพียงครั้งเดียว ไม่มีขั้นตอนหรือการจัดตั้งที่แน่นอนในการเรียกร้องและไม่มีความต่อเนื่องใน การเรียกร้อง กลุ่มดังกล่าวจะมีอิทธิพลน้อย
3. กลุ่มผลประโยชน์ที่เป็นสถาบัน (Institutional Interest Groups) กล่าวคือ องค์กรที่เป็นทางการ (Formal Organizations) เช่น พรรคการเมือง สถาบันนิติบัญญัติ กองทัพ ศาสนา หน่วยราชการและสถาบันอื่น ๆ ซึ่งมีหน้าที่เฉพาะอย่างอื่นที่ไม่ใช่การเรียกร้องผลประโยชน์ กลุ่มเหล่านี้อาจเรียกร้องผลประโยชน์ของกลุ่มเอง หรือทำหน้าที่เป็นตัวแทนผลประโยชน์ของกลุ่มอื่นในสังคม นอกจากนั้นกลุ่มย่อยภายในสถาบันสำคัญ ๆ เหล่านี้อาจทำหน้าที่เรียกร้องผลประโยชน์เฉพาะกลุ่มของตนก็ได้ โดยอาศัยความยอมรับนับถือในสถาบันที่สังกัดอยู่เป็นทรัพยากรในการที่จะได้มา ซึ่งผลประโยชน์ของกลุ่มตนเอง ตัวอย่างเช่น กลุ่มนักการธนาคารในพรรคอนุรักษ์นิยมพรรคหนึ่งอาจใช้อิทธิพลของพรรคในอันที่ จะเพิ่มพูนผลประโยชน์ให้แก่วงการธนาคาร หรือกลุ่มผู้นำกองทัพบกทำการเรียกร้องผลประโยชน์ให้แก่ชาวนาผู้ยากไร้เป็น ต้น
4. กลุ่มผลประโยชน์ที่เป็นทางการ (Associational Interest Groups) “ทางการ” ในที่นี้ หมายถึง มีการจัดตั้ง มีสมาชิกเป็นการแน่นอนไม่ได้หมายความถึงที่เป็น “ทางราช-การ” ตัวอย่างกลุ่มผลประโยชน์ที่เป็นทางการ คือ สหภาพแรงงาน สมาคมนักธุรกิจ สมาคมชาติพันธุ์ และกลุ่มประชาชนประจำท้องถิ่นต่าง ๆ เหล่านี้ เป็นกลุ่มที่ตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นปากเสียงแทนผลประโยชน์ของกลุ่มชนกลุ่มหนึ่ง กลุ่มใดโดยเฉพาะ กลุ่มเหล่านี้มักจะมีระเบียบวิธีการที่จะเรียกร้องผลประโยชน์และนำข้อเรียก ร้องเสนอต่อระบบการเมือง ในสังคมที่พัฒนาแล้วกลุ่มเหล่านี้จะได้เปรียบกลุ่มที่ไม่เป็นทางการ (Non-associational Interest Groups) จะได้รับการยอมรับว่าชอบธรรมและจะมีมากมายหลายกลุ่มครอบคลุมถึงกลุ่มชนต่าง ๆ ในสังคม โดยกลุ่มที่ไม่เป็นทางการ (Non-Associational) จะลดน้อยถอยลงไปโดยปริยาย
อ้างอิง: http://www.idis.ru.ac.th/report/index.php?topic=2419.0
กลุ่มผลประโยชน์ (Interest Group)
ระบบการเมืองทุกระบบจะมีวิธีการจัดการกับข้อเรียกร้องหรือความต้องการของ ประชาชน การตัดสินใจทางการเมืองทุกอย่างย่อมมีผลกระทบต่อผลประโยชน์ของบางกลุ่มทั้ง ในทางบวกและทางลบ กลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบในทางลบจะแสดงออกโดยการรวมตัวเป็นกลุ่มเพื่อประท้วง หรือโต้ตอบนโยบายของรัฐบาล เพื่อให้ขจัดภาวะที่ไม่พึงประสงค์นั้นหมดไป ซึ่งการรวมกลุ่มนั้นอาจเรียกได้ว่าเป็น “กลุ่มผลประโยชน์” (Interest Group) ซึ่งมาพิจารณาความหมายและความสำคัญ ประเภทของกลุ่มผลประโยชน์ รวมถึงบทบาทหน้าที่ของกลุ่มผลประโยชน์ ดังนี้
พรรคการเมืองไทยถือกำเนิดเมื่อใด
พรรคการเมืองของไทย ถือกำเนิดครั้งแรก ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๔๘๙ พรรคการเมืองพรรคแรกที่จัดตั้งขึ้น คือ "พรรคก้าวหน้า" ผู้ริเริ่มจัดตั้งคือ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช แต่ในขณะนั้นยังไม่มีการประกาศใช้กฎหมายพรรคการเมืองดังนั้น "พรรคก้าวหน้า" จึงยังมิได้จดทะเบียนพรรคการเมืองอย่างเป็นทางการจวบจนกระทั่ง วันที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ.๒๔๙๘ ในสมัยรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้มีการประกาศใช้ พระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ.๒๔๙๘ ขึ้นเป็นครั้งแรกของประวัติศาสตร์การเมืองไทย จึงได้มีการจัดตั้ง และจดทะเบียนพรรคการเมืองขึ้นโดยในระหว่าง พ.ศ.๒๔๙๘ - ๒๕๐๑ มีพรรคการเมืองจำนวน๓๐ พรรค
และนับจากนั้นเป็นต้นมา พรรคการเมืองของไทยก็ได้มีการจัดตั้งและยุบเลิกมาโดยตลอด ขณะเดียวกัน ก็มีการยกเลิกและประกาศใช้พระราชบัญญัติพรรคการเมืองหลายฉบับ ได้แก่ พระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ.๒๔๙๘ พ.ศ.๒๕๑๑ พ.ศ.๒๕๑๗ พ.ศ.๒๕๒๔ และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.๒๕๔๑ ซึ่งเป็นฉบับที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน
วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2554
พรรคการเมืองไทยในปัจจุบัน
พ.ศ. 2551 - ปัจจุบัน
ความหมายของพรรคการเมือง
ในระบอบการเมืองแบบประชาธิปไตย พรรคการเมืองจะเป็นสถาบันทางการเมืองที่มีความสำคัญมากและขาดไม่ได้ในกระบวนการปกครอง เพราะการปกครองระบอบประชาธิปไตยเป็นการปกครองที่ให้ประชาชนมีส่วนรวมในการปกครอง และมีอิทธิพลเหนือรัฐบาลโดยผ่านทางสภาผู้แทนราษฎร การที่ผู้แทนราษฎรจะมีคุณภาพ มีความสามารถและทำหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบนั้น จำเป็นต้องมีสถาบันทางการเมืองที่คอยประสานผลประโยชน์และกลั่นกรองความคิดเห็นของประชาชน และคัดเลือกตัวบุคคล เพื่อเสนอให้ประชาชนเลือกไปปฏิบัติหน้าที่แทน สถาบันที่ทำหน้าที่ดังกล่าวก็คือ พรรคการเมือง
พรรคการเมือง หมายถึง กลุ่มบุคคลที่มีความคิดทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ตลอดจนมีผลประโยชน์ในทางการเมือง เศรษฐกิจที่คล้ายคลึงกัน และต้องนำความคิดทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองนั้นไปใช้เป็นหลักในการบริหารประเทศ ด้วยการเผยแพร่เจตนารมณ์ดังกล่าวและส่งสมาชิกเข้าสมัครรับเลือกตั้งโดยมุ่งหวังที่จะได้เป็นรัฐบาล ดังนั้นพรรคการเมืองจึงพยายามทำทุกวิถีทางที่จะได้รับคะแนนเสียงข้างมากในรัฐสภา หรือถ้าไม่ได้เป็นรัฐบาลก็เพื่อได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการควบคุมสอดส่องการบริหารงานของรัฐบาลโดยทำหน้าที่เป็นพรรคฝ่ายค้าน
พรรคการเมืองแตกต่างจากกลุ่มผลประโยชน์ ตรงทกลุ่มผลประโยชน์นั้นอาจจะรวมตัวกันด้วย อุดมการณ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและมีผลประโยชน์คล้ายคลึงกัน มีสมาชิกดำเนินการทางการเมืองเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของกลุ่ม เช่นสหภาพแรงงานการขนส่ง เรียกร้องให้รัฐบาลปรับปรุงค่าจ้างและสวัสดิการ โดยใช้วิธีหยุดงานประท้วงและระดมความสนับสนุนจากสหภาพอื่นๆ เพื่อนำมาเป็นข้อต่อรอง ซึ่งล้วนแต่เป็นวิธีการทางการเมืองทั้งสิ้น แต่แตกต่างจากพรรคการเมืองตรงที่กลุ่มผลประโยชน์ไม่มีจุดมุ่งหมายที่จะแข่งขันในการเลือกตั้ง และที่สำคัญที่สุดก็คือไม่มีวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งรัฐบาล
หน้าที่ของพรรคการเมือง
แม้หน้าที่ของพรรคการเมืองจะมีอยู่หลายประการ แต่อาจแยกหน้าที่หลักของพรรคการเมืองออกเป็นสองประการใหญ่ๆ หน้าที่อื่นๆนั้นเพียงแต่แยกย่อยออกจากหน้าที่หลักทั้งสองประการนี้เท่านั้น หน้าที่ของพรรคการเมือง คือ
๑. พรรคการเมืองเป็นตัวกลางเชื่อมความต้องการและบทบาทของประชาชนกับรัฐบาล
ลำพังประชาชนแต่ละคนนั้นย่อมไม่มีอิทธิพลต่อรัฐบาล หากแต่ถ้าประชาชนที่มีความเห็นตรงกันมารวมตัวกันเข้า ทำความคิดเห็นของตนให้เป็นปึกแผ่นเป็นนโยบายของพรรคการเมืองเพื่อเสนอต่อ ประชาชนคนอื่นๆพิจารณาเลือกตั้งพรรคของตน ความต้องการของประชาชนจึงจะมีน้ำหนักขึ้น พรรคการเมืองจะเป็นผู้รวบรวม คัดเลือก และส่งผ่านประเด็นเกี่ยวกับผลประโยชน์ของประชาชนและกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆที่ เป็นฐานเสียงของตนเข้าสู่การพิจารณาของรัฐ และผลักดันให้รัฐบาลนำความต้องการดังกล่าวไปปฏิบัติ ทำให้รัฐบาลมีโอกาสได้สื่อสารกับประชาชนผ่านตัวกลาง
นอกจากนี้ ในแง่ตัวกลางเชื่อมบทบาทของประชาชนกับรัฐบาล พรรคการเมืองยังเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการเมือง โดยคัดเลือกผู้มีความสามารถมาเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งเพื่อชิงชัยเป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือรัฐบาลแทนประชาชนส่วนใหญ่ โดยในหน้าที่นี้ พรรคการเมืองต้องส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ด้านการเมืองการปกครองประเทศ ด้วย
๒. พรรคการเมืองเป็นผู้ใช้อำนาจทางการเมือง
หากพรรคการเมืองสามารถชนะการเลือกตั้งได้ เสียงข้างมากในรัฐสภา และจัดตั้งรัฐบาล พรรคการเมืองย่อมเป็นผู้กำหนดกฎหมายตามความประสงค์ของประชาชน และนำกฎหมายนั้นไปยังคับใช้ พรรคการเมืองกลายเป็นผู้นำความต้องการของประชาชนมาปฏิบัติให้เกิดผลด้วยตน เอง นอกจากนี้ การใช้อำนาจพรรคการเมืองยังหมายรวมถึงการที่พรรคการเมืองเป็นฝ่ายค้านที่คอย ตรวจสอบควบคุมการใช้อำนาจของฝ่ายรัฐบาล โดยการตั้งกระทู้ถาม พิจารณากลั่นกรองร่างพระราชบัญญัติ รวมทั้งการเสนอญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล
คุณค่าของพรรคการเมืองต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตย
แม้แต่ในการปกครองระบอบที่ไม่เป็นประชาธิปไตย ก็ยังสามารถมีพรรคการเมืองได้ อาทิ พรรคคอมมิวนิสต์ใน ประเทศที่มีการปกครองระบอบสังคมนิยม แต่พรรคการเมืองเหล่านั้นไม่สามารถทำหน้าที่พรรคการเมืองได้ เพราะมิได้เป็นตัวกลางเสนอความต้องการของประชาชนให้แก่รัฐบาล ตลอดจนมิได้เปิดโอกาสให้ประชาชนที่สนใจเข้ามามีส่วนร่วมในทางการเมืองแต่ อย่างใด ในส่วนการใช้อำนาจรัฐ พรรคการเมืองเหล่านั้นมิได้ทำหน้าที่ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐให้แก่ประชาชนดัง เช่นที่พรรคการเมืองควรทำ
จะเห็นได้ว่า พรรคการเมืองจะปฏิบัติหน้าที่ของตนได้ก็แต่ในภาวการณ์ที่มีพรรคการเมืองหลาย พรรคเข้าร่วมแข่งขันกัน อันจะเกิดในบรรยากาศประชาธิปไตย ซึ่งรับรองความเสมอภาค สิทธิในการเข้าถึงข้อมูล สิทธิในการชุมนุม สิทธิในแสดงความคิดเห็น
แต่เดิม ในการปกครองระบอบประชาธิปไตยทางตรง พรรคการเมืองไม่ใช่เรื่องจำเป็น แต่เมื่อสังคมสลับซับซ้อนยิ่งขึ้น ประชาธิปไตยทางตรงย่อมใช้ไม่ได้ผล เนื่องจากมีประชาชนจำนวนมาก จึงเกิดเป็นประชาธิปไตยแบบตัวแทนขึ้น ความจำเป็นที่จะต้องมีพรรคการเมืองก็ปรากฏเด่นชัดขึ้น เพราะผู้แทนอิสระนั้นมีความคิดเห็นต่างๆได้หลากหลายกันออกไป การรวมตัวกันเป็นพรรคการเมืองโดยยอมทิ้งความเห็นเล็กน้อยที่ไม่ตรงกันเพื่อ ผลประโยชน์ร่วมกันที่สำคัญกว่าจะช่วยลดความสับสนในการเลือกผู้แทนของประชาชน ผู้มีสิทธิเลือกตั้งให้มีตัวเลือกที่น้อยลงและชัดเจนมากยิ่งขึ้น
การจัดตั้งขึ้นเป็นพรรคการเมืองนั้นทำให้การเรียกร้องของประชาชนดำรงอยู่ต่อ ไปโดยไม่ขึ้นอยู่กับปัจเจกแต่ละคน เพราะแม้ว่าผู้ก่อตั้งพรรคการเมืองจะตายไป พรรคการเมืองก็ไม่สิ้นสุดลงไปด้วย หากแต่สามารถถูกรับช่วงต่อไปโดยสมาชิกพรรคคนอื่นๆ
ในด้านการใช้อำนาจนิติบัญญัติ พรรคการเมืองจะช่วยพิจารณากลั่นกรองความคิดเห็นของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรโดย ถี่ถ้วนภายในพรรคการเมืองก่อน จึงเสนอต่อสภา ทำให้การทำงานของฝ่ายนิติบัญญัติรวดเร็ว ทันเหตุการณ์ และรอบคอบมากขึ้น
พรรคการเมืองทำให้รัฐบาลมีเสถียรภาพมากขึ้น หากรัฐบาลจะดำเนินนโยบายในทางใดก็สามารถรู้ได้ว่ามีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ ยังสนับสนุนตนอยู่เท่าใด เพราะผู้แทนเหล่านั้นสังกัดในพรรคร่วมรัฐบาลเดียวกัน หากผู้แทนคนใดจะกระทำตนนอกลู่นอกทางก็ยังมีวินัยพรรคการเมืองที่ตนสังกัด อยู่คอยควบคุมอยู่อีกชั้นหนึ่ง
ปัจจุบัน หน้าที่ต่างๆที่พรรคการเมืองเคยมีอาจเริ่มถูกแทนที่ด้วยสถาบันอื่น อาทิ สื่อ หรือ องค์การภาคประชาชน เข้ามาตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐแทนพรรคการเมือง และในบางคราว อาจทำได้ดีกว่าพรรคการเมือง หรือ การที่ประชาชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการปกครองได้โดยตรง อาทิ เข้าชื่อเสนอกฎหมาย หรือถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ทำให้พรรคการเมืองไม่ได้มีบทบาทเท่าเดิมเช่นที่เคยมีมา แต่โดยสภาพสังคมปัจจุบัน พรรคการเมืองยังเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งหากประชาชนต้องการธำรง ประชาธิปไตยไว้
อ้างอิงจาก: www.thaipoliticsgovernment.
ความสำคัญของพรรคการเมือง
1. เป็นแหล่งเฟ้นหาบุคคล เพื่อให้ประชาชนเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนร
2.กำหนดแนวนโยบายและอุดมการณ์ทางการเมืองไว้อย่างชัดเจน
3. รักษาระเบียบวินัยพรรค
4. เป็นแหล่งฝึกฝนทางการเมืองให้แก่ประชาชนที่เป็นสมาชิกของพรรค
5. ให้การศึกษาเกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยแก่ประชาชนทั่วไป
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)