ยินดีต้อนรับ สู่ Blogger พรรคการเมือง เพื่อที่จะให้เข้าใจถึงการจัดตั้งพรรคการเมือง จุดประสงค์ในการจัดตั้ง และรายชื่อพรรคการเมืองในปัจจุบัน รวมทั้งกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆในพรรคการเมือง

วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554

นโยบาย พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน

      
หันหน้าเข้าหากัน สร้างสรรค์ประเทศไทย รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย พลังไทยสร้างชาติ

1.สังคมมั่นคง ประชาชนมั่งคั่ง เศรษฐกิจยั่งยืน

2.สุขภาพดีทั่วไทย กีฬาสร้างชาติ ประชาชนมีคุณภาพ ขยายระบบสวัสดิการสังคม

3.เกษตรกรไทยต้องรวย ค่าแรงดีมีงานทำ สร้างเถ้าแก่เงินล้านเชื่อมสัมพันธ์การค้าไทยสู่ตลาดโลก

4.ทุกทิศทุกทางเดินทางทั่วถึง ตรึงราคาก๊าซ-น้ำมัน เพิ่มรายได้การท่องเที่ยว เพิ่มเงินอุดหนุนท้องถิ่น

ความหมายและประเภทของกลุ่มผลประโยชน์


 ความหมายของกลุ่มผลประโยชน์

             อัลมอนด์ (Almond)  และ  เพาเวลล์ (Powel)  (อ้างใน พฤทธิสาณ  ชุมพล . 2540 : 115)  นิยามความหมายของ “กลุ่มผลประโยชน์” (Interest Group)  ว่าเป็นกลุ่มคนที่เชื่อมโยงกันโดยมีความสนใจหรือห่วงใยในสิ่งหนึ่งสิ่งใด หรือมีผลประโยชน์ร่วมกันและโดยมีความสำนึกอยู่ไม่มากก็น้อยว่าเขามีความ เชื่อมโยงดังกล่าวกันอยู่

         ประเภทของกลุ่มผลประโยชน์

                1.  กลุ่มผลประโยชน์และบุคคลที่เคว้งคว้างไร้บรรทัดฐาน  (Anomic Interest Groups)   เป็นกลุ่มที่ปะทุขึ้นอย่างค่อนข้างจะกะทันหันตามอารมณ์  เช่น  การจลาจล  การลอบสังหาร  ตลอดจนการเดินขบวนประท้วง    การเรียงร้องผลประโยชน์ในรูปลักษณ์นี้มักจะเกิดขึ้นในสภาพที่ไม่มีกลุ่มที่ ได้รับการจัดตั้งอยู่ในสังคม  หรือว่าหากมีก็มีบางกลุ่มที่ถูกปิดกั้นมิให้แสดงออกซึ่งความต้องการ  ดังนั้น  ความไม่   พึงพอใจที่ถูกปิดอยู่กดดันไว้จะปะทุออกมาถ้ามีเหตุการณ์เอื้ออำนวยหรือมี ผู้ชักนำหรือ “ปลุกระดม”  ให้เกิดขึ้น  การชักนำนี้อาจกระทำโดยผู้ที่อยู่ในอำนาจทางการเมืองเพื่อผลประโยชน์ของเขา เองก็ได้  แต่ข้อสำคัญไม่มีการจัดตั้งเป็นองค์กรแต่อย่างใด  ประเทศไทยมีเหตุการณ์ทางการเมืองที่ก่อให้เกิด Anomic Interest Groups  คือ ในประเทศไทย  ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยเป็นแกนนำในการเรียกร้อง รัฐธรรมนูญ  ตลอดจนการท้าทายอำนาจกลุ่มผู้ปกครองที่เป็นนายทหาร  แต่   ฝูงชนที่เข้าร่วมเดินขบวนประท้วงจนมืดฟ้ามัวดินในสัปดาห์นั้นอาจจัดเข้า อยู่ในลักษณะของ Anomic  Interest  Groups ได้ 

                2. กลุ่มผลประโยชน์ที่ไม่มีการจัดตั้ง  (Non-Associational Interest Groups)  หมายถึงกลุ่มถึงเครือญาติ  กลุ่มเชื้อชาติ  กลุ่มภูมิภาค  กลุ่มสถานภาพ  กลุ่มชนชั้น  (กล่าวคือกลุ่มคนที่อาจไม่ได้พบปะกันอย่างสม่ำเสมอ  แต่มีความรู้สึกร่วมกัน  มีความเชื่อมโยงกันทางจิตทางวัฒนธรรมอย่างรู้ใจกันพอสมควร  ซึ่งอาจะเรียกร้องผลประโยชน์ของเขา  เป็นครั้งคราว  โดยผ่านบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือผู้นำเช่น  ผู้นำทางศาสนา  ตัวอย่างเช่น  การที่เจ้าของที่ดินหลายคนขอร้องข้าราชการชั้น   ผู้ใหญ่หรือรัฐมนตรีให้พิจารณาไม่ขึ้นภาษีที่ดิน  โดยที่การขอร้องนี้เกิดขึ้นเมื่อเล่นกอล์ฟด้วยกัน จะเห็นได้ว่า กลุ่ม 2 ประเภท  ดังกล่าวไปแล้ว  มีการเรียกร้องผลประโยชน์แต่เพียงครั้งเดียว  ไม่มีขั้นตอนหรือการจัดตั้งที่แน่นอนในการเรียกร้องและไม่มีความต่อเนื่องใน การเรียกร้อง กลุ่มดังกล่าวจะมีอิทธิพลน้อย 

                3. กลุ่มผลประโยชน์ที่เป็นสถาบัน (Institutional Interest Groups) กล่าวคือ องค์กรที่เป็นทางการ  (Formal Organizations)  เช่น  พรรคการเมือง  สถาบันนิติบัญญัติ  กองทัพ  ศาสนา  หน่วยราชการและสถาบันอื่น ๆ ซึ่งมีหน้าที่เฉพาะอย่างอื่นที่ไม่ใช่การเรียกร้องผลประโยชน์  กลุ่มเหล่านี้อาจเรียกร้องผลประโยชน์ของกลุ่มเอง  หรือทำหน้าที่เป็นตัวแทนผลประโยชน์ของกลุ่มอื่นในสังคม  นอกจากนั้นกลุ่มย่อยภายในสถาบันสำคัญ ๆ เหล่านี้อาจทำหน้าที่เรียกร้องผลประโยชน์เฉพาะกลุ่มของตนก็ได้  โดยอาศัยความยอมรับนับถือในสถาบันที่สังกัดอยู่เป็นทรัพยากรในการที่จะได้มา ซึ่งผลประโยชน์ของกลุ่มตนเอง  ตัวอย่างเช่น  กลุ่มนักการธนาคารในพรรคอนุรักษ์นิยมพรรคหนึ่งอาจใช้อิทธิพลของพรรคในอันที่ จะเพิ่มพูนผลประโยชน์ให้แก่วงการธนาคาร  หรือกลุ่มผู้นำกองทัพบกทำการเรียกร้องผลประโยชน์ให้แก่ชาวนาผู้ยากไร้เป็น ต้น

                4.  กลุ่มผลประโยชน์ที่เป็นทางการ (Associational  Interest Groups) “ทางการ” ในที่นี้ หมายถึง  มีการจัดตั้ง  มีสมาชิกเป็นการแน่นอนไม่ได้หมายความถึงที่เป็น “ทางราช-การ”  ตัวอย่างกลุ่มผลประโยชน์ที่เป็นทางการ คือ สหภาพแรงงาน  สมาคมนักธุรกิจ  สมาคมชาติพันธุ์  และกลุ่มประชาชนประจำท้องถิ่นต่าง ๆ เหล่านี้  เป็นกลุ่มที่ตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นปากเสียงแทนผลประโยชน์ของกลุ่มชนกลุ่มหนึ่ง กลุ่มใดโดยเฉพาะ กลุ่มเหล่านี้มักจะมีระเบียบวิธีการที่จะเรียกร้องผลประโยชน์และนำข้อเรียก ร้องเสนอต่อระบบการเมือง  ในสังคมที่พัฒนาแล้วกลุ่มเหล่านี้จะได้เปรียบกลุ่มที่ไม่เป็นทางการ  (Non-associational Interest Groups) จะได้รับการยอมรับว่าชอบธรรมและจะมีมากมายหลายกลุ่มครอบคลุมถึงกลุ่มชนต่าง ๆ ในสังคม  โดยกลุ่มที่ไม่เป็นทางการ  (Non-Associational)  จะลดน้อยถอยลงไปโดยปริยาย


อ้างอิง:  http://www.idis.ru.ac.th/report/index.php?topic=2419.0

กลุ่มผลประโยชน์ (Interest Group)



        ระบบการเมืองทุกระบบจะมีวิธีการจัดการกับข้อเรียกร้องหรือความต้องการของ ประชาชน  การตัดสินใจทางการเมืองทุกอย่างย่อมมีผลกระทบต่อผลประโยชน์ของบางกลุ่มทั้ง ในทางบวกและทางลบ กลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบในทางลบจะแสดงออกโดยการรวมตัวเป็นกลุ่มเพื่อประท้วง หรือโต้ตอบนโยบายของรัฐบาล  เพื่อให้ขจัดภาวะที่ไม่พึงประสงค์นั้นหมดไป  ซึ่งการรวมกลุ่มนั้นอาจเรียกได้ว่าเป็น “กลุ่มผลประโยชน์” (Interest Group) ซึ่งมาพิจารณาความหมายและความสำคัญ ประเภทของกลุ่มผลประโยชน์  รวมถึงบทบาทหน้าที่ของกลุ่มผลประโยชน์  ดังนี้

พรรคการเมืองไทยถือกำเนิดเมื่อใด

พรรคการเมืองของไทย ถือกำเนิดครั้งแรก ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๔๘๙ พรรคการเมืองพรรคแรกที่จัดตั้งขึ้น คือ "พรรคก้าวหน้า" ผู้ริเริ่มจัดตั้งคือ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช แต่ในขณะนั้นยังไม่มีการประกาศใช้กฎหมายพรรคการเมืองดังนั้น "พรรคก้าวหน้า" จึงยังมิได้จดทะเบียนพรรคการเมืองอย่างเป็นทางการจวบจนกระทั่ง วันที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ.๒๔๙๘ ในสมัยรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้มีการประกาศใช้ พระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ.๒๔๙๘ ขึ้นเป็นครั้งแรกของประวัติศาสตร์การเมืองไทย จึงได้มีการจัดตั้ง และจดทะเบียนพรรคการเมืองขึ้นโดยในระหว่าง พ.ศ.๒๔๙๘ - ๒๕๐๑ มีพรรคการเมืองจำนวน๓๐ พรรค
และนับจากนั้นเป็นต้นมา พรรคการเมืองของไทยก็ได้มีการจัดตั้งและยุบเลิกมาโดยตลอด ขณะเดียวกัน ก็มีการยกเลิกและประกาศใช้พระราชบัญญัติพรรคการเมืองหลายฉบับ ได้แก่ พระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ.๒๔๙๘ พ.ศ.๒๕๑๑ พ.ศ.๒๕๑๗ พ.ศ.๒๕๒๔ และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.๒๕๔๑ ซึ่งเป็นฉบับที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน