ยินดีต้อนรับ สู่ Blogger พรรคการเมือง เพื่อที่จะให้เข้าใจถึงการจัดตั้งพรรคการเมือง จุดประสงค์ในการจัดตั้ง และรายชื่อพรรคการเมืองในปัจจุบัน รวมทั้งกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆในพรรคการเมือง

วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ความหมายและประเภทของกลุ่มผลประโยชน์


 ความหมายของกลุ่มผลประโยชน์

             อัลมอนด์ (Almond)  และ  เพาเวลล์ (Powel)  (อ้างใน พฤทธิสาณ  ชุมพล . 2540 : 115)  นิยามความหมายของ “กลุ่มผลประโยชน์” (Interest Group)  ว่าเป็นกลุ่มคนที่เชื่อมโยงกันโดยมีความสนใจหรือห่วงใยในสิ่งหนึ่งสิ่งใด หรือมีผลประโยชน์ร่วมกันและโดยมีความสำนึกอยู่ไม่มากก็น้อยว่าเขามีความ เชื่อมโยงดังกล่าวกันอยู่

         ประเภทของกลุ่มผลประโยชน์

                1.  กลุ่มผลประโยชน์และบุคคลที่เคว้งคว้างไร้บรรทัดฐาน  (Anomic Interest Groups)   เป็นกลุ่มที่ปะทุขึ้นอย่างค่อนข้างจะกะทันหันตามอารมณ์  เช่น  การจลาจล  การลอบสังหาร  ตลอดจนการเดินขบวนประท้วง    การเรียงร้องผลประโยชน์ในรูปลักษณ์นี้มักจะเกิดขึ้นในสภาพที่ไม่มีกลุ่มที่ ได้รับการจัดตั้งอยู่ในสังคม  หรือว่าหากมีก็มีบางกลุ่มที่ถูกปิดกั้นมิให้แสดงออกซึ่งความต้องการ  ดังนั้น  ความไม่   พึงพอใจที่ถูกปิดอยู่กดดันไว้จะปะทุออกมาถ้ามีเหตุการณ์เอื้ออำนวยหรือมี ผู้ชักนำหรือ “ปลุกระดม”  ให้เกิดขึ้น  การชักนำนี้อาจกระทำโดยผู้ที่อยู่ในอำนาจทางการเมืองเพื่อผลประโยชน์ของเขา เองก็ได้  แต่ข้อสำคัญไม่มีการจัดตั้งเป็นองค์กรแต่อย่างใด  ประเทศไทยมีเหตุการณ์ทางการเมืองที่ก่อให้เกิด Anomic Interest Groups  คือ ในประเทศไทย  ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยเป็นแกนนำในการเรียกร้อง รัฐธรรมนูญ  ตลอดจนการท้าทายอำนาจกลุ่มผู้ปกครองที่เป็นนายทหาร  แต่   ฝูงชนที่เข้าร่วมเดินขบวนประท้วงจนมืดฟ้ามัวดินในสัปดาห์นั้นอาจจัดเข้า อยู่ในลักษณะของ Anomic  Interest  Groups ได้ 

                2. กลุ่มผลประโยชน์ที่ไม่มีการจัดตั้ง  (Non-Associational Interest Groups)  หมายถึงกลุ่มถึงเครือญาติ  กลุ่มเชื้อชาติ  กลุ่มภูมิภาค  กลุ่มสถานภาพ  กลุ่มชนชั้น  (กล่าวคือกลุ่มคนที่อาจไม่ได้พบปะกันอย่างสม่ำเสมอ  แต่มีความรู้สึกร่วมกัน  มีความเชื่อมโยงกันทางจิตทางวัฒนธรรมอย่างรู้ใจกันพอสมควร  ซึ่งอาจะเรียกร้องผลประโยชน์ของเขา  เป็นครั้งคราว  โดยผ่านบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือผู้นำเช่น  ผู้นำทางศาสนา  ตัวอย่างเช่น  การที่เจ้าของที่ดินหลายคนขอร้องข้าราชการชั้น   ผู้ใหญ่หรือรัฐมนตรีให้พิจารณาไม่ขึ้นภาษีที่ดิน  โดยที่การขอร้องนี้เกิดขึ้นเมื่อเล่นกอล์ฟด้วยกัน จะเห็นได้ว่า กลุ่ม 2 ประเภท  ดังกล่าวไปแล้ว  มีการเรียกร้องผลประโยชน์แต่เพียงครั้งเดียว  ไม่มีขั้นตอนหรือการจัดตั้งที่แน่นอนในการเรียกร้องและไม่มีความต่อเนื่องใน การเรียกร้อง กลุ่มดังกล่าวจะมีอิทธิพลน้อย 

                3. กลุ่มผลประโยชน์ที่เป็นสถาบัน (Institutional Interest Groups) กล่าวคือ องค์กรที่เป็นทางการ  (Formal Organizations)  เช่น  พรรคการเมือง  สถาบันนิติบัญญัติ  กองทัพ  ศาสนา  หน่วยราชการและสถาบันอื่น ๆ ซึ่งมีหน้าที่เฉพาะอย่างอื่นที่ไม่ใช่การเรียกร้องผลประโยชน์  กลุ่มเหล่านี้อาจเรียกร้องผลประโยชน์ของกลุ่มเอง  หรือทำหน้าที่เป็นตัวแทนผลประโยชน์ของกลุ่มอื่นในสังคม  นอกจากนั้นกลุ่มย่อยภายในสถาบันสำคัญ ๆ เหล่านี้อาจทำหน้าที่เรียกร้องผลประโยชน์เฉพาะกลุ่มของตนก็ได้  โดยอาศัยความยอมรับนับถือในสถาบันที่สังกัดอยู่เป็นทรัพยากรในการที่จะได้มา ซึ่งผลประโยชน์ของกลุ่มตนเอง  ตัวอย่างเช่น  กลุ่มนักการธนาคารในพรรคอนุรักษ์นิยมพรรคหนึ่งอาจใช้อิทธิพลของพรรคในอันที่ จะเพิ่มพูนผลประโยชน์ให้แก่วงการธนาคาร  หรือกลุ่มผู้นำกองทัพบกทำการเรียกร้องผลประโยชน์ให้แก่ชาวนาผู้ยากไร้เป็น ต้น

                4.  กลุ่มผลประโยชน์ที่เป็นทางการ (Associational  Interest Groups) “ทางการ” ในที่นี้ หมายถึง  มีการจัดตั้ง  มีสมาชิกเป็นการแน่นอนไม่ได้หมายความถึงที่เป็น “ทางราช-การ”  ตัวอย่างกลุ่มผลประโยชน์ที่เป็นทางการ คือ สหภาพแรงงาน  สมาคมนักธุรกิจ  สมาคมชาติพันธุ์  และกลุ่มประชาชนประจำท้องถิ่นต่าง ๆ เหล่านี้  เป็นกลุ่มที่ตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นปากเสียงแทนผลประโยชน์ของกลุ่มชนกลุ่มหนึ่ง กลุ่มใดโดยเฉพาะ กลุ่มเหล่านี้มักจะมีระเบียบวิธีการที่จะเรียกร้องผลประโยชน์และนำข้อเรียก ร้องเสนอต่อระบบการเมือง  ในสังคมที่พัฒนาแล้วกลุ่มเหล่านี้จะได้เปรียบกลุ่มที่ไม่เป็นทางการ  (Non-associational Interest Groups) จะได้รับการยอมรับว่าชอบธรรมและจะมีมากมายหลายกลุ่มครอบคลุมถึงกลุ่มชนต่าง ๆ ในสังคม  โดยกลุ่มที่ไม่เป็นทางการ  (Non-Associational)  จะลดน้อยถอยลงไปโดยปริยาย


อ้างอิง:  http://www.idis.ru.ac.th/report/index.php?topic=2419.0

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น