ยินดีต้อนรับ สู่ Blogger พรรคการเมือง เพื่อที่จะให้เข้าใจถึงการจัดตั้งพรรคการเมือง จุดประสงค์ในการจัดตั้ง และรายชื่อพรรคการเมืองในปัจจุบัน รวมทั้งกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆในพรรคการเมือง

วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554

พรรคการเมืองกับการรณรงค์ทางการเมือง

ในอดีตการรณรงค์ทางการเมืองเพื่อการหาเสียงเลือกตั้งในประเทศไทยไม่ว่าจะ กระทำโดยผู้สมัครรับเลือกตั้งหรือพรรคการเมืองยังมีการนำระบบอุปถัมภ์ ผลประโยชน์แลกเปลี่ยน และปัจจัยทางสังคม หรือภูมิหลังของบุคลเป็นหลัก โดยมิได้เห็นความสำคัญหรือมีความเชื่อในสำนึกเหตุผล ทำให้การรณรงค์ทางการเมืองโดยเฉพาะช่วงการเลือกตั้งเป็นการแข่งขันในลักษณะ ของการให้ผลประโยชน์ในรูปของเงินทอง และสิ่งของแก่ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง โดยผ่านระบบอุปถัมภ์ หรือผู้นำในชุมชนต่าง ๆ รวมทั้งมีการโจมตีให้ร้ายแก่ผู้สมัครหรือพรรคการเมืองคู่แข่งด้วยวิธีการ ต่าง ๆ 


แต่อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากการปฏิรูปการเมือง โดยวางกฎกติกาทางการเมืองใหม่ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และมีพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 ซึ่งได้มีการเปลี่ยนแปลงระบบการเลือกตั้ง อันมีทั้งการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ และการเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง รวมทั้งยังมีคณะกรรมการเลือกตั้ง อันเป็นองค์กรอิสระ เข้ามาทำหน้าที่ควบคุมและจัดการเลือกตั้ง ทำให้พรรคการเมืองต้องปรับกลยุทธ์ในการณรงค์หาเสียงและสร้างจุดขายเพื่อหา คะแนนนิยมให้ตนเองมากกว่าแต่ก่อน จึงได้เกิดมิติใหม่ในการณรงค์หาเสียงเลือกตั้งของพรรคการเมือง โดยพรรคการเมืองมีการนำเสนอนโยบายสาธาณะของพรรคการเมืองผ่านสื่อต่าง ๆ อย่างกว้างขวางมากขึ้น มีการใช้ริเริ่มที่จะนำรูปแบบการณรงค์ทางการเมืองเพื่อการหาเสียงเลือกตั้ง แบบใหม่ของต่างประเทศมาใช้ ด้วยวิธีการทำการตลาดทางการเมือง (Political Marketing) และคงเป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า พรรคไทยรักไทยเป็นพรรคการเมืองแรกที่ประสบความสำเร็จในการรณรงค์หาเสียง เพื่อการเลือกตั้งภายหลังการประกาศใช้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2540
ดังที่ นันทนา นันทวโรภาส ได้กล่าวสรุปไว้ในงานวิจัยเรื่อง “ชนะเลือกตั้งด้วยพลังการตลาด” ว่าพรรคไทยรักไทย ได้นำกรอบแนวคิดการตลาดทางการเมืองทุกชนิดมาใช้ได้อย่างเหมาะสมสอดคล้องกับ สภาพสังคมการเมืองไทยทั้งการแบ่งส่วนตลาดผู้เลือกตั้ง (Voter segmentation) ที่สามารถจำแนกได้ละเอียดชัดเจนและเข้าถึงได้ทุกกลุ่ม การจัดวางตำแหน่งของพรรคและหัวหน้าพรรค (Product positioning) เป็นตำแหน่งที่แตกต่างและสร้างประโยชน์แก่พรรค ขณะเดียวกันพรรคก็ใช้ส่วนผสมของการตลาด 4Ps อย่างมีประสิทธิภาพโดยการใช้การวิจัย (Polling) เป็นตัวนำในการออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product) คือ นโยบายที่ตอบสนองความพอใจของผู้เลือกตั้ง และใช้ทั้งการตลาดแบบผลักดัน (Push marketing) ผ่านกิจกรรมต่าง และการตลาดแบบดึงดูด (Pull marketing) ผ่านทางสื่อมวลชนอย่างกว้างขวาง โดยมีกลไกของรัฐเป็นตัวสนับสุนโดยไม่มีข้อจำกัด ซึ่งเมื่อพิจารณาผลการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2548 ที่พรคไทยรักไทยได้รับเลือกตั้งสูงถึง 377 ที่นั่งย่อมเป็นเครื่องยืนยันความสำเร็จของการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งภายใต้ กรอบการตลาดเป็นอย่างดี หรือตามที่ สุรนันทน์ เวชชาชีวะ ได้กล่าวถึง ลักษณะของโปสเตอร์ แผ่นพับ ใบปลิวว่า “สำหรับสื่อสิ่งพิมพ์ส่วนใหญ่แล้วเราจะชูท่านหัวหน้าพรรคเป็นหลัก ในระยะแรกพรรคก็เหมือนกับหัวหน้าพรรค เราจึงเน้นที่รูปของท่าน และเนื้อหาคำกล่าวของท่าน...มีคำกล่าวสั้น ๆ ที่หัวหน้าพรรคต้องการสื่อสาร ซึ่งเป็นข้อความสั้น ๆ และสามารถเข้าใจง่าย กินใจหรือโดนใจที่สุด อันเป็นกลยุทธ์เดียวกับการรณรงค์ทางการเมืองด้านสารและวาทะทางการเมืองของ สหรัฐอเมริกา 



ความสำเร็จในการนำการตลาดทางการเมืองมาใช้ในการรณรงค์ทางการเมืองเพื่อหา เสียงเลือกตั้งของไทยรักไทยนั้น ส่งผลให้พรรคอื่น ๆ จำต้องปรับกลยุทธ์ในการรณรงค์ทางการเมืองให้ทันต่อกระแสความต้องการของผู้มี สิทธิเลือกตั้งชาวไทย ไม่ว่าจะเป็นพรรคประชาธิปัตย์ด้วยการ RE-BRANDING พรรคประชาธิปัตย์ หรือการปรับใช้เทคนิคการ BRANDING นักการเมือง ของพรรคชาติไทย เป็นต้น แนวโน้มในการรณรงค์ทางการเมืองเพื่อหาเสียงเลือกตั้งของพรรคการเมืองไทย
(1) พรรคการเมืองมีแนวโน้มในการรณรงค์หาเสียง โดยเน้นการประกาศนโยบายสาธารณะแบบประชานิยม ดังเช่นที่ นิยม รัฐอมฤต ได้กล่าวว่า “...ทิศทางของพรรคการเมืองไทยในการเลือกตั้งครั้งหน้า จะยังไม่มีอะไรมากไปกว่าการแข่งขัน เพื่อให้ตนเองได้มี ส.ส.มากที่สุด และยุทธวิธีที่หนีไม่พ้นก็คือการใช้เงิน และระบบอุปถัมภ์ และที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ การแข่งขันประกาศนโยบายประชานิยม โดยมุ่งหวังที่จะสร้างคะแนนนิยมจากประชาชน”
(2) ประชาชนที่มีความใกล้ชิดกับข้อมูลข่าวสารจะให้ความสำคัญกับนโยบายของพรรคการเมืองมากขึ้น
(3) สื่อมวลชน ทั้งโทรทัศน์ วิทยุ สื่อสิ่งพิมพ์ และอื่น ๆ จะเข้ามามีบทบาทในการรณรงค์ทางการเมืองเพื่อการหาเสียงเลือกตั้งของพรรคการ เมืองมากขึ้น
(4) เงินยังคงเป็นปัจจัยที่สำคัญในการรณรงค์ทางการเมืองเพื่อการหาเสียงเลือก ตั้ง แต่อาจมิใช่ปัจจัยชี้ขาดถึงผลสำเร็จของการเลือกตั้ง เพราะหากใช้จ่ายเงินในทางที่ผิดไม่เป็นไปตามกฎหมายอาจจะถูกเพิกถอนสิทธิ เลือกตั้งได้ (ส่วนที่ 6 ค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งและวิธีการหาเสียงเลือกตั้ง มาตรา 49-60)
(5) จะมีการใช้ข้อมูลสารสนเทศสำหรับวางแผนและดำเนินการในการรณรงค์ทางการเมือง เพื่อหาเสียงเลือกตั้งมากขึ้น เช่น มีการทำแบบสำรวจโพลล์ เพื่อค้นหาความต้องการของประชาชนมากำหนดเป็นนโยบายของพรรคการเมืองเพื่อใช้ ในการหาเสียงมากขึ้น รวมทั้งมีการสำรวจความนิยมของพรรคการเมือง ผู้สมัครรับเลือกตั้งอย่างสม่ำเสมอ เพื่อนำข้อมูลมาปรับกลยุทธ์ในการรณรงค์ทางการเมืองเพื่อหาเสียงเลือกตั้งให้ มีประสิทธิภาพตรงใจกับผู้มีสิทธิเลือกตั้ง มีการปรับวาทะทางการเมืองให้สั้น กระชับ เพื่อดึงดูดใจ และให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งประทับใจในช่วงเวลาอันรวดเร็วและตรงจุดความต้อง การ
(6) พรรคการเมืองและผู้สมัครรับเลือกตั้งจะรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งควบคู่ไปกับ การจับจ้องพฤติการณ์การหาเสียงเลือกตั้งของคู่แข่งมากยิ่งขึ้น เพื่อหวังผลในการร้องเรียน ร้องคัดค้านอันจะนำมาสู่การไม่ประกาศผลการเลือกตั้งจาก ก.ก.ต. (กรณีที่ตนเองแพ้การเลือกตั้ง) และเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งแก่ผู้สมัครรับเลือกตั้งฝ่ายตรงข้าม (มาตรา 114) 

อ้างอิง http://thaipoliticsgovernment.org/wiki/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น