ยินดีต้อนรับ สู่ Blogger พรรคการเมือง เพื่อที่จะให้เข้าใจถึงการจัดตั้งพรรคการเมือง จุดประสงค์ในการจัดตั้ง และรายชื่อพรรคการเมืองในปัจจุบัน รวมทั้งกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆในพรรคการเมือง

วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2554

การปราศัยหาเสียงเลือกตั้งของพรรคการเมือง

พรรคการเมืองไทยในปัจจุบัน

พ.ศ. 2551 - ปัจจุบัน

ความหมายของพรรคการเมือง

ในระบอบการเมืองแบบประชาธิปไตย พรรคการเมืองจะเป็นสถาบันทางการเมืองที่มีความสำคัญมากและขาดไม่ได้ในกระบวนการปกครอง เพราะการปกครองระบอบประชาธิปไตยเป็นการปกครองที่ให้ประชาชนมีส่วนรวมในการปกครอง และมีอิทธิพลเหนือรัฐบาลโดยผ่านทางสภาผู้แทนราษฎร การที่ผู้แทนราษฎรจะมีคุณภาพ มีความสามารถและทำหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบนั้น จำเป็นต้องมีสถาบันทางการเมืองที่คอยประสานผลประโยชน์และกลั่นกรองความคิดเห็นของประชาชน และคัดเลือกตัวบุคคล เพื่อเสนอให้ประชาชนเลือกไปปฏิบัติหน้าที่แทน สถาบันที่ทำหน้าที่ดังกล่าวก็คือ พรรคการเมือง

พรรคการเมือง หมายถึง กลุ่มบุคคลที่มีความคิดทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ตลอดจนมีผลประโยชน์ในทางการเมือง เศรษฐกิจที่คล้ายคลึงกัน และต้องนำความคิดทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองนั้นไปใช้เป็นหลักในการบริหารประเทศ ด้วยการเผยแพร่เจตนารมณ์ดังกล่าวและส่งสมาชิกเข้าสมัครรับเลือกตั้งโดยมุ่งหวังที่จะได้เป็นรัฐบาล ดังนั้นพรรคการเมืองจึงพยายามทำทุกวิถีทางที่จะได้รับคะแนนเสียงข้างมากในรัฐสภา หรือถ้าไม่ได้เป็นรัฐบาลก็เพื่อได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการควบคุมสอดส่องการบริหารงานของรัฐบาลโดยทำหน้าที่เป็นพรรคฝ่ายค้าน

พรรคการเมืองแตกต่างจากกลุ่มผลประโยชน์ ตรงทกลุ่มผลประโยชน์นั้นอาจจะรวมตัวกันด้วย อุดมการณ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและมีผลประโยชน์คล้ายคลึงกัน มีสมาชิกดำเนินการทางการเมืองเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของกลุ่ม เช่นสหภาพแรงงานการขนส่ง เรียกร้องให้รัฐบาลปรับปรุงค่าจ้างและสวัสดิการ โดยใช้วิธีหยุดงานประท้วงและระดมความสนับสนุนจากสหภาพอื่นๆ เพื่อนำมาเป็นข้อต่อรอง ซึ่งล้วนแต่เป็นวิธีการทางการเมืองทั้งสิ้น แต่แตกต่างจากพรรคการเมืองตรงที่กลุ่มผลประโยชน์ไม่มีจุดมุ่งหมายที่จะแข่งขันในการเลือกตั้ง และที่สำคัญที่สุดก็คือไม่มีวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งรัฐบาล


  อ้างอิงจาก: 202.143.141.162/web_offline/srp/061962202.html

หน้าที่ของพรรคการเมือง

แม้หน้าที่ของพรรคการเมืองจะมีอยู่หลายประการ แต่อาจแยกหน้าที่หลักของพรรคการเมืองออกเป็นสองประการใหญ่ๆ หน้าที่อื่นๆนั้นเพียงแต่แยกย่อยออกจากหน้าที่หลักทั้งสองประการนี้เท่านั้น หน้าที่ของพรรคการเมือง คือ


๑. พรรคการเมืองเป็นตัวกลางเชื่อมความต้องการและบทบาทของประชาชนกับรัฐบาล

ลำพังประชาชนแต่ละคนนั้นย่อมไม่มีอิทธิพลต่อรัฐบาล หากแต่ถ้าประชาชนที่มีความเห็นตรงกันมารวมตัวกันเข้า ทำความคิดเห็นของตนให้เป็นปึกแผ่นเป็นนโยบายของพรรคการเมืองเพื่อเสนอต่อ ประชาชนคนอื่นๆพิจารณาเลือกตั้งพรรคของตน ความต้องการของประชาชนจึงจะมีน้ำหนักขึ้น พรรคการเมืองจะเป็นผู้รวบรวม คัดเลือก และส่งผ่านประเด็นเกี่ยวกับผลประโยชน์ของประชาชนและกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆที่ เป็นฐานเสียงของตนเข้าสู่การพิจารณาของรัฐ และผลักดันให้รัฐบาลนำความต้องการดังกล่าวไปปฏิบัติ ทำให้รัฐบาลมีโอกาสได้สื่อสารกับประชาชนผ่านตัวกลาง

นอกจากนี้ ในแง่ตัวกลางเชื่อมบทบาทของประชาชนกับรัฐบาล พรรคการเมืองยังเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการเมือง โดยคัดเลือกผู้มีความสามารถมาเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งเพื่อชิงชัยเป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือรัฐบาลแทนประชาชนส่วนใหญ่ โดยในหน้าที่นี้ พรรคการเมืองต้องส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ด้านการเมืองการปกครองประเทศ ด้วย


๒. พรรคการเมืองเป็นผู้ใช้อำนาจทางการเมือง

หากพรรคการเมืองสามารถชนะการเลือกตั้งได้ เสียงข้างมากในรัฐสภา และจัดตั้งรัฐบาล พรรคการเมืองย่อมเป็นผู้กำหนดกฎหมายตามความประสงค์ของประชาชน และนำกฎหมายนั้นไปยังคับใช้ พรรคการเมืองกลายเป็นผู้นำความต้องการของประชาชนมาปฏิบัติให้เกิดผลด้วยตน เอง นอกจากนี้ การใช้อำนาจพรรคการเมืองยังหมายรวมถึงการที่พรรคการเมืองเป็นฝ่ายค้านที่คอย ตรวจสอบควบคุมการใช้อำนาจของฝ่ายรัฐบาล โดยการตั้งกระทู้ถาม พิจารณากลั่นกรองร่างพระราชบัญญัติ รวมทั้งการเสนอญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล


อ้างอิงจาก:  http://www.thaipoliticsgovernment.

คุณค่าของพรรคการเมืองต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตย










แม้แต่ในการปกครองระบอบที่ไม่เป็นประชาธิปไตย ก็ยังสามารถมีพรรคการเมืองได้ อาทิ พรรคคอมมิวนิสต์ใน ประเทศที่มีการปกครองระบอบสังคมนิยม แต่พรรคการเมืองเหล่านั้นไม่สามารถทำหน้าที่พรรคการเมืองได้ เพราะมิได้เป็นตัวกลางเสนอความต้องการของประชาชนให้แก่รัฐบาล ตลอดจนมิได้เปิดโอกาสให้ประชาชนที่สนใจเข้ามามีส่วนร่วมในทางการเมืองแต่ อย่างใด ในส่วนการใช้อำนาจรัฐ พรรคการเมืองเหล่านั้นมิได้ทำหน้าที่ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐให้แก่ประชาชนดัง เช่นที่พรรคการเมืองควรทำ


จะเห็นได้ว่า พรรคการเมืองจะปฏิบัติหน้าที่ของตนได้ก็แต่ในภาวการณ์ที่มีพรรคการเมืองหลาย พรรคเข้าร่วมแข่งขันกัน อันจะเกิดในบรรยากาศประชาธิปไตย ซึ่งรับรองความเสมอภาค สิทธิในการเข้าถึงข้อมูล สิทธิในการชุมนุม สิทธิในแสดงความคิดเห็น


แต่เดิม ในการปกครองระบอบประชาธิปไตยทางตรง พรรคการเมืองไม่ใช่เรื่องจำเป็น แต่เมื่อสังคมสลับซับซ้อนยิ่งขึ้น ประชาธิปไตยทางตรงย่อมใช้ไม่ได้ผล เนื่องจากมีประชาชนจำนวนมาก จึงเกิดเป็นประชาธิปไตยแบบตัวแทนขึ้น ความจำเป็นที่จะต้องมีพรรคการเมืองก็ปรากฏเด่นชัดขึ้น เพราะผู้แทนอิสระนั้นมีความคิดเห็นต่างๆได้หลากหลายกันออกไป การรวมตัวกันเป็นพรรคการเมืองโดยยอมทิ้งความเห็นเล็กน้อยที่ไม่ตรงกันเพื่อ ผลประโยชน์ร่วมกันที่สำคัญกว่าจะช่วยลดความสับสนในการเลือกผู้แทนของประชาชน ผู้มีสิทธิเลือกตั้งให้มีตัวเลือกที่น้อยลงและชัดเจนมากยิ่งขึ้น


การจัดตั้งขึ้นเป็นพรรคการเมืองนั้นทำให้การเรียกร้องของประชาชนดำรงอยู่ต่อ ไปโดยไม่ขึ้นอยู่กับปัจเจกแต่ละคน เพราะแม้ว่าผู้ก่อตั้งพรรคการเมืองจะตายไป พรรคการเมืองก็ไม่สิ้นสุดลงไปด้วย หากแต่สามารถถูกรับช่วงต่อไปโดยสมาชิกพรรคคนอื่นๆ


ในด้านการใช้อำนาจนิติบัญญัติ พรรคการเมืองจะช่วยพิจารณากลั่นกรองความคิดเห็นของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรโดย ถี่ถ้วนภายในพรรคการเมืองก่อน จึงเสนอต่อสภา ทำให้การทำงานของฝ่ายนิติบัญญัติรวดเร็ว ทันเหตุการณ์ และรอบคอบมากขึ้น


พรรคการเมืองทำให้รัฐบาลมีเสถียรภาพมากขึ้น หากรัฐบาลจะดำเนินนโยบายในทางใดก็สามารถรู้ได้ว่ามีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ ยังสนับสนุนตนอยู่เท่าใด เพราะผู้แทนเหล่านั้นสังกัดในพรรคร่วมรัฐบาลเดียวกัน หากผู้แทนคนใดจะกระทำตนนอกลู่นอกทางก็ยังมีวินัยพรรคการเมืองที่ตนสังกัด อยู่คอยควบคุมอยู่อีกชั้นหนึ่ง


ปัจจุบัน หน้าที่ต่างๆที่พรรคการเมืองเคยมีอาจเริ่มถูกแทนที่ด้วยสถาบันอื่น อาทิ สื่อ หรือ องค์การภาคประชาชน เข้ามาตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐแทนพรรคการเมือง และในบางคราว อาจทำได้ดีกว่าพรรคการเมือง หรือ การที่ประชาชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการปกครองได้โดยตรง อาทิ เข้าชื่อเสนอกฎหมาย หรือถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ทำให้พรรคการเมืองไม่ได้มีบทบาทเท่าเดิมเช่นที่เคยมีมา แต่โดยสภาพสังคมปัจจุบัน พรรคการเมืองยังเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งหากประชาชนต้องการธำรง ประชาธิปไตยไว้


อ้างอิงจาก:  www.thaipoliticsgovernment.

ความสำคัญของพรรคการเมือง

1. เป็นแหล่งเฟ้นหาบุคคล  เพื่อให้ประชาชนเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนร
  
2.กำหนดแนวนโยบายและอุดมการณ์ทางการเมืองไว้อย่างชัดเจน
 
3. รักษาระเบียบวินัยพรรค
4. เป็นแหล่งฝึกฝนทางการเมืองให้แก่ประชาชนที่เป็นสมาชิกของพรรค
5. ให้การศึกษาเกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยแก่ประชาชนทั่วไป